เครื่องหมายรับรองผลิตภัณฑ์
เครื่องหมายรับรองผลิตภัณฑ์
หมวดหมู่: ดาวน์โหลด
เครื่องหมายรับรองผลิตภัณฑ์
FCC (Federal Communications Commission)
FCC เป็นข้อกำหนดเกี่ยวกับคลื่นความถี่วิทยุของรัฐบาลสหรัฐฯ ออกโดยคณะกรรมการกลางกำกับดูแลกิจการสื่อสาร เพื่อวางระเบียบให้แก่ อุปกรณ์ประเภทวิทยุ โทรทัศน์ ผู้ให้บริการการสื่อสารระหว่างรัฐ และงานให้บริการระหว่างประเทศที่อยู่ในสหรัฐฯ รวมทั้งคอมพิวเตอร์ที่ผลิตสัญญาณความถี่วิทยุ ซึ่งอาจจะไปรบกวนการกระจายสัญญาณทางธุรกิจ อุปกรณ์คอมพิวเตอร์เหล่านี้ต้องได้รับการรับรองจาก FCC ก่อนที่จะนำเข้ามาขายในประเทศสหรัฐฯ โดยข้อกำหนด FCC จะถูกแบ่งออกเป็น 2 คลาส คือ Class A สำหรับในในงานอุตสาหกรรมหรือด้านธุรกิจ และ Class B สำหรับใช้งานตามบ้าน รายละเอียดเพิ่มเติม http://www.fcc.gov/ |
CE (European Conformity)
เดิมทีใช้ตัวย่อ EC แต่เปลี่ยนมาเป็น CE อย่างเป็นทางการเมื่อปี 1993 เครื่องหมาย CE บนผลิตภัณฑ์คอมพิวเตอร์เป็นเครื่องหมายที่แสดงถึงการรับรองจากโรงงานผลิตว่าเป็นอุปกรณ์ที่มีคุณสมบัติตามข้อกำหนดทางด้านสุขอนามัย ความปลอดภัย และการคุ้มครองสิ่งแวดล้อม ตามกฏหมายและกฏระเบียบที่เกี่ยวข้องของเครือสหภาพยุโรป (EU) เครื่องหมาย CE ที่กำกับอยู่บนผลิตภัณฑ์เป็นตัวระบุว่าอุปกรณ์ดังกล่าวสามารถวางจำหน่ายและเคลื่อนย้ายอย่างเสรีภายใต้เขตเศรษฐกิจยุโรป (European Economic Area: EAA) ได้ ยกเว้น ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ ซึ่งสมาชิกภายในเครือสหภาพยุโรปจะออกกฏหมายภายในประเทศให้สอดคล้องกับกฏระเบียบข้อบังคับของเครือสหภาพยุโรป (EC Directives) ที่เกี่ยวข้องกับการใช้เครื่องหมาย CE รายละเอียดเพิ่มเติม ec.europa.eu |
UL (Underwriters Laboratories)
UL เป็นองค์กรอิสระที่ไม่แสวงหาผลกำไร โดยให้บริการการทดสอบและออกใบรับรองมาตรฐานความปลอดภัยของผลิตภัณฑ์มานานกว่า 100 ปี UL ทำการประเมินผลิตภัณฑ์, ชิ้นส่วน, วัสดุ และระบบ โดยมีมาตรฐานรองรับไม่น้อยกว่า 1,200 มาตรฐาน จุดประสงค์หลักของ UL คือ การสนับสนุนให้ความเป็นอยู่และสภาพแวดล้อมในการทำงานมีความปลอดภัย โดยใช้วิทยาศาสตร์และวิศวกรรมศาสตร์เกี่ยวกับความปลอดภัย ซึ่งครอบคลุมผลิตภัณฑ์ทางด้านไฟฟ้า, เครื่องมือการแพทย์, เครื่องมือป้องกันอัคคีภัย, ชิ้นส่วนอิเล็คทรอนิกส์, ยาง, สายไฟฟ้า, พลาสติก และอื่นๆ รายละเอียดเพิ่มเติม http://www.ul.com/ |
RoHS (Restriction of Hazardous Substances Directive)
RoHS เป็นมาตรฐานทางด้านสิ่งแวดล้อมตามข้อกำหนดที่ 2002/95/EC ของเครือสหภาพยุโรป (EU) ว่าด้วยเรื่องการใช้สารที่เป็นอันตรายในผลิตภัณฑ์เครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็คทรอนิกส์ รวมถึงผลิตภัณฑ์ที่ใช้กำลังไฟฟ้าในการทำงาน เช่น โทรทัศน์, วิทยุ, อุปกรณ์ทางด้านคอมพิวเตอร์ เป็นต้น ชิ้นส่วนภายในผลิตภัณฑ์ดังกล่าว ตั้งแต่แผงวงจร, อุปกรณ์อิเล็คทรอนิกส์ จนไปถึงสายไฟ จะต้องผ่านตามข้อกำหนดดังกล่าว สารที่ถูกจำกัดปริมาณในปัจจุบันมี 6 ชนิด คือ ตะกั่ว (Pb), ปรอท (Hg), แคดเมียม (Cd), เฮกสะวาเลนท์ โครเมียม (Cr6+), โพลีโบรมิเนต ไบเฟนนิลส์ (PBB) และ โพลีโบรมิเนต ไดเฟนนิล อีเธอร์ (PBDE) โดยต้องมีปริมาณไม่เกิน 0.1% หรือ 1000 ppm โดยน้ำหนัก ยกเว้นแคดเมียมที่ต้องไม่เกิน 0.01% หรือ 100 ppm อย่างไรก็ตาม ก็มีข้อยกเว้นสำหรับผลิตภัณฑ์บางประเภทที่ยังไม่สามารถหาสารอื่นมาใช้ทดแทนได้ หรือสารทดแทนมีอันตรายมากกว่า รายละเอียดเพิ่มเติม https://blog.thaieasyelec.com/what-is-rohs-electronics// |
VCCI (Voluntary Control Council for Interference)
VCCI เป็นมาตรฐานแจ้งเตือนการรบกวนของคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าโดยรัฐบาลญี่ปุ่น สำหรับผลิตภัณฑ์ IT โดยเฉพาะ มาตรฐานนี้ไม่ได้ถูกใช้บังคับ แต่บริษัทส่วนใหญ่ก็นำผลิตภัณฑ์เข้าทดสอบมาตรฐานดังกล่าวเพื่อระบุถึงคุณภาพของผลิตภัณฑ์ ผลิตภัณฑ์ที่เข้ารับทดสอบจะได้กำกับเครื่องหมาย VCCI ซึ่งจะถูกแบ่งเป็น 2 คลาส คือ 1.Class B หรือ VCCI-B คือ ผลิตภัณฑ์อาจก่อให้เกิดการรบกวนของคลื่นวิทยุภายใต้สภาพแวดล้อมที่อยู่อาศัยซึ่งมีเครื่องรับวิทยุหรือโทรทัศน์อยู่ในรัศมี 10 เมตร 2.Class A หรือ VCCI-A คือ ผลิตภัณฑ์อาจก่อให้เกิดการรบกวนของคลื่นวิทยุภายใต้สภาพแวดล้อมบริเวณที่อยู่อาศัยนอกเหนือขอบเขตของ Class B รายละเอียดเพิ่มเติม http://www.vcci.jp/vcci_e/index.html |
Electronic Product Environmental Assessment Tool (EPEAT)
IEPEAT เป็นเครื่องมือการประเมินสมรรถนะทางสิ่งแวดล้อมของสินค้า เพื่อช่วยให้ผู้ซื้อ สามารถประเมินและเปรียบเทียบคุณลักษณะทางสิ่งแวดล้อมของเครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ (ตามขอบข่ายที่กำหนด) โดยระบบของ EPEAT เป็นระบบการให้คะแนนกับสินค้าที่ปฏิบัติตามเกณฑ์การประเมินลักษณะสมบัติทางสิ่งแวดล้อม ใน 8 ด้าน รวมทั้งสิ้น 51 ข้อ แบ่งเป็นเกณฑ์บังคับ 23 ข้อ และเกณฑ์ทางเลือก 28 ข้อ (ตามที่กำหนดในมาตรฐาน IEEE-1680) โดยเกณฑ์กำหนดที่เป็นเกณฑ์ทางเลือกนั้น จะมีหัวข้อคุณลักษณะคล้ายกับเกณฑ์บังคับ แต่จะมีขีดจำกัดที่เข้มข้นกว่า เช่น การลดระดับสารอันตรายให้อยู่ในระดับสารปนเปื้อน (Trace Element) การใช้วัสดุจากธรรมชาติและวัสดุจากแหล่งหมุนเวียน และการใช้วัสดุรีไซเคิล เป็นต้น รายละเอียดเพิ่มเติม http://greenelectronicscouncil.org/ |
FIPS 140-2 (Federal Information Processing Standard Publication 140-2)
FIPS 140-2 เป็นมาตรฐานทางด้านความปลอดภัยระบบคอมพิวเตอร์สำหรับโมดูลของการเข้ารหัสของรัฐบาลสหรัฐฯ ออกโดยสถาบันมาตรฐานและเทคโนโลยีแห่งชาติ (NIST) และถูกนำมาใช้ร่วมกับสถาบันเพื่อความปลอดภัยในการสื่อสารของรัฐบาลแคนาดา (CSE) มาตรฐาน FIPS 140-2 เป็นข้อกำหนดความปลอดภัยของการเข้ารหัสข้อมูลที่ไม่เป็นความลับ (Unclassified Information) ในระบบ IT โดยแบ่งเป็นระดับ 1 – 4 ต่ำสุดไปจนถึงสูงสุด ซึ่งเป็นตัวชี้วัดความสามารถในการเข้ารหัสภายใต้สภาพแวดล้อมและแอพพลิเคชันประเภทต่างๆ ได้แก่ การออกแบบ และติดตั้งโมดูลการเข้ารหัส, อินเตอร์เฟสของโมดูล, ความปลอดภัยของฮาร์ดแวร์, ความปลอดภัยของซอฟต์แวร์, การจัดการ Key, อัลกอริธึมในการเข้ารหัส, การรบกวนและการเข้ากันได้ของคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า (EMI/EMC) เป็นต้น รายละเอียดเพิ่มเติม http://csrc.nist.gov/groups/STM/cmvp/standards.html |
ISO : International Organization for Standardization
ISO ย่อมาจาก International Organization for Standardization คือ องค์การมาตรฐานสากล หรือองค์การระหว่างประเทศว่าด้วยการมาตรฐาน เป็นองค์กรที่ออกมาตรฐานต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจ และอุตสาหกรรม ส่วนมาตรฐานที่องค์กรนี้ออกมา ก็ใช้ชื่อนำหน้าว่า ISO เช่น ISO 9000 และ ISO 14000 ซึ่งก็เป็นมาตรฐานที่ว่าด้วยระบบบริหารคุณภาพ และระบบบริหารสิ่งแวดล้อม ISO จะมีสมาชิกจากหลายๆ ประเทศทั่วโลก และสมาชิกก็แบ่งเป็นระดับๆ แตกต่างกันไปอีก ซึ่งเป็นองค์กรระหว่างประเทศ และมาตรฐานต่างๆ ที่ออกมาก็เป็นมาตรฐานระหว่างประเทศ (International Standard) นอจากนี้มาตรฐาน ISO ยังสามารถประยุกต์ใช้ได้กับทุกองค์กร ไม่ว่าจะเป็นองค์กรชนิดใดขนาดใหญ่ หรือ เล็ก ผลิตสินค้าอะไร หรือ ให้บริการอะไร ตัวอย่างเช่น มาตรฐาน ISO-10646-1 เป็นมาตรฐานที่โปรแกรมในปัจจุบันได้เริ่มออกแบบให้สามารถใช้ได้หลายภาษา (multilingual) โดยใช้ มาตรฐานของตัวอักษร ของ ISO/IEC 10646 (Universal Multi-octet Coded Character Set – UCS) ซึ่งเป็นระบบสำหรับเก็บข้อมูลตัวอักษรสากลในระบบ 8 Bit (หรือ byte) ซึ่งอาจอยู่ในรูป 8 bit หลาย ๆ ตัวต่อกัน และรู้จักกันดีในชื่อ Unicode UCS หรือ UTF-8 รายละเอียดเพิ่มเติม https://www.iso.org/ |
WHQL :Windows Hardware Quality Labs
Windows Hardware Quality Labs (ย่อมาจาก WHQL ) เป็นกระบวนการทดสอบของ Microsoft WQHL ได้รับการออกแบบมาเพื่อพิสูจน์ให้ Microsoft และในที่สุดก็ถึงลูกค้า (นั่นคือคุณ) ว่า ฮาร์ดแวร์ หรือซอฟต์แวร์บางรายการจะทำงานได้ดีกับ Windows เมื่อชิ้นส่วนของฮาร์ดแวร์หรือซอฟต์แวร์ผ่าน WHQL ผู้ผลิตสามารถใช้โลโก้ "Certified for Windows" (หรือสิ่งที่คล้ายกัน) บนบรรจุภัณฑ์และการโฆษณาผลิตภัณฑ์ของตน โลโก้ใช้เพื่อให้คุณเห็นได้ชัดเจนว่าผลิตภัณฑ์ได้รับการทดสอบตามมาตรฐานที่กำหนดโดย Microsoft และใช้งานได้กับ Windows เวอร์ชัน ใดก็ตามที่ คุณใช้ อยู่ผลิตภัณฑ์ที่มีโลโก้ Windows Quality Quality Labs จะรวมอยู่ใน Windows Hardware Compatibility List รายละเอียดเพิ่มเติม https://learn.microsoft.com/en-us/windows-hardware/drivers/install/whql-release-signature |
Energy Star
มาตรฐาน Energy Star 4.0 ครอบคลุมไปถึงเครื่องคอมพิวเตอร์แบบตั้งโต๊ะ (Desktop) เซิร์ฟเวอร์ที่มีรากฐานอยู่บนเครื่องคอมพิวเตอร์แบบตั้งโต๊ะ (Desktop-Derived Server) เกมคอนโซล (Game Console) เครื่องคอมพิวเตอร์แบบ Integrated เครื่องคอมพิวเตอร์แบบพกพาทั้งแบบ Notebook และ Tablet ที่จอแสดงผลรวมเป็นหน่วยเดียวกัน (แต่ไม่รวมถึงอุปกรณ์เสริม เช่น Docking Station) และเวิร์คสเตชัน (Workstation) ซึ่งถ้าเราซื้อคอมพิวเตอร์ที่มีเครื่องหมาย Energy Star หมายความว่าเครื่องคอมพิวเตอร์นั้นมีคอนฟิเกอเรชันพื้นฐานตรงตามคุณสมบัติการจัดการพลังงานทั้งหมดของ ENERGY STAR® แต่ไม่ได้หมายความว่าจะเป็นอย่างนั้นตลอดไป คือเมื่อมีการเปลี่ยนแปลงค่าคอนฟิเกอเรชันใดๆ เช่น การติดตั้งการ์ดเอ็กซ์แพนชันหรือไดรฟ์เพิ่มเติม ก็อาจทำให้การใช้พลังงานของเครื่องคอมพิวเตอร์เพิ่มขึ้นจนเกินระดับที่มาตรฐานกำหนดไว้ก็เป็นได้ รายละเอียดเพิ่มเติม https://www.energystar.gov/ |
19 ธันวาคม 2565
ผู้ชม 4010 ครั้ง